เกี่ยวกับ อบต.
ประวัติความเป็นมา องค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2539 |
วิสัยทัศน์ “การคมนาคมสะดวก สาธารณูปโภคครบครัน มุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี” พันธกิจในการพัฒนาท้องถิ่น 1.) พัฒนาแหล่งน้ากิน น้าใช้ รวมทั้งภาชนะกักเก็บน้ากินให้พอเพียงตลอดปี 2.) พัฒนาการคมนาคมและการโทรคมนาคม ให้สะดวกและทั่วถึงทุกหมู่บ้าน 3.) ช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับการฝึกอาชีพเสริม เพิ่มความรู้และเพิ่มรายได้ 4.) ให้ประชาชนได้รับข่าวสารโดยทั่วถึงและรวดเร็ว 5.) จัดให้มีบริการสาธารณสุขอย่างเพียงพอกับความต้องการของประชาชน 6.) สร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.) จัดให้มีการบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึง เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ 8.) จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในการรักษาความสะอาดให้เพียงพอและทันสมัย |
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ ที่ตั้ง ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 223 ตำบลหินเหล็กไฟ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหัวหิน ประมาณ10 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 105 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาประมาณ 15 นาที ในการเดินทางจากอำเภอหัวหิน และใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ในการเดินทางจากตัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ทิศใต้ ติดต่อตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิศตะวันออก ติดต่อเทศบาลตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทิศตะวันตก ติดต่อเทศบาลตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรขี ันธ์ เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟมีพื้นที่ทั้งหมด 95 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 59,375 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาอยู่ด้านทิศเหนือ ดินมีลักษณะเป็นดินปนทราย มีแหล่งน้ำผิวดินอยู่เป็นบางพื้นที่ เหมาะแก่การเกษตรกรรม ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 32 - 33 องศาเซลเซียสต่ำสุดประมาณ 23 – 25 องศาเซลเซียส เนื่องจากได้รับอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ทำให้เกินฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและค่อนข้างแห้งแล้ง ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยประมาณ 60 - 70 มม. ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 24 - 25 องศาเซลเซียส |
การเมืองการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อปี วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2539 บุคลากรทางการเมือง ประกอบด้วย ผู้บริหาร 4 คน และ สมาชิกสภา อบต. จำนวน 16 คน ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกิน 2 คน เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบ ในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายนโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบและข้อบังคับของราชการ ประกอบด้วย
|
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม จำนวน 1,137 ครัวเรือน , พาณิชยกรรม , การปศุสัตว์ , รับจ้าง และการอุตสาหกรรมในครัวเรือนมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยประมาณ 20,000 บาท/ครัวเรือน/ปี ด้านการเกษตร ใช้พื้นที่รวมทั้งหมดประมาฯ 9,069 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา จำนวนครัวเรือน 1,137 ครัวเรือน ผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญ คือ พืชไร่ เช่น สัปปะรดโรงงาน สับปะรดผลสด ยางพารา อ้อยโรงงาน ข้าวโพดรับประทานฝักสด มันสำปะหลัง หญ้าเลี้ยงสัตว์ ว่านหางจระเข้ จำนวนครัวเรือนที่เพาะปลูก 467 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 6,676 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา พืชสวน เช่น มะเขือเทศบริโภคผลสด มะเขือเทศโรงงาน มะเขือเปราะ มะเขือพวง แตงกวา แตงร้าน ข่าตะไคร้ ฟัก/แฟง ฟักทอง จำนวนครัวเรือนที่เพาะปลูก 71 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 189 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา พืชผัก เช่น พริกขี้หนูเม็ดเล็ก(ขี้หนูสวน) ผักบุ้งจีน ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักชี ผักคื่นฉ่าย กะเพรา กุยช่ายคะน้า สาระแหน่ หอมแบ่ง (ต้นหอม) เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดฟาง จำนวนครัวเรือนที่เพาะปลูก 55 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 109 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา ไม้ยืนต้น เช่น มะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อน ชะอม ไผ่ ไผ่ตรงหวาน ไผ่ลวก ไผ่สีสุก ไม้สัก ไม่ยืนต้นอื่นๆ จำนวนครัวเรือน ที่เพาะปลูก 157 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 945 ไร่ 3 งาน 51 ตารางวา ไม้ผล เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ โกโก้ แก้วมังกร กาแฟ ขนุนหนัง เงาะโรงเรียน ทุเรียน น้อยหน่าหนัง มะละกอ (ฮอร์แลนด์) มะละกอแขกดำ มะกรูด มะนาวแป้น มะรุม เมล่อน มะม่วง มะม่วงฟ้าลั่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงโชคอนันต์ มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงหินมะพานต์ ลำไย สะเดา เสาวรส ส้มโอทองดี หมากเหลือง จำนวนครัวเรือนที่เพาะปลูก 346 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,072 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น มะลิ ชวนชม ดอกรัก ดาวเรือง ลีลาวดี จำนวนครัวเรือนที่เพาะปลูก 13 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูก ประมาณ 12 ไร่ ปศุสัตว์ เช่น โค (วัว) พันธุ์เนื้อ ไก่พื้นเมือง เป็ด เป็ดไข่ แพะ แพะเนื้อ สุกร พันธุ์เนื้อ (ขุน) จำนวนครัวเรือนที่เพาะปลูก 16 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 31 ไร่ 3 งาน 61 ตารางวา ประมง เช่น ปลาเบญจพรรณ ปลานิล ปลาดุก จำนวนครัวเรือนที่เพาะปลูก 12 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 30 ไร่ 3 งาน 0 ตารางวา (หมายเหตุ ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ทบก.01) ณ.วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีปั้มน้ำมันและก๊าซ 4 แห่ง มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 2 แห่ง มีโรงงาน 2 แห่ง การรวมกลุ่มของประชาชน กลุ่มอาชีพ จำนวน 8 กลุ่ม กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 16 กลุ่ม กลุ่มสหกรณ์ชาวไร่สับปะรด จำนวน 1 กลุ่ม กลุ่มเกษตรกรทำไร่หินเหล็กไฟ จำนวน 1 กลุ่ม กลุ่มผู้ปลูกสับปะรด จำนวน 8 กลุ่ม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 3 กลุ่ม มวลชนจัดตั้ง ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน 1 รุ่น ไทยอาสาป้องกันชาติ จำนวน 1 รุ่น อาสาสมัครปกป้องสถาบัน จำนวน 1 รุ่น กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ จำนวน 2 รุ่น อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 6 กลุ่ม
|
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษา มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง คือ - ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ร.ร. วังโบสถ์ หมู่ที่ 2 - ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ร.ร. หนองตะเภา หมู่ที่ 4 - ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ร.ร. หนองคร้า หมู่ที่ 5 - ศูนย์พัฒนา เด็กเล็กบ้านหนองซอ หมู่ที่ 6 - ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ร.ร. หนองเหียง หมู่ที่ 7 - ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ร.ร. อนุบาลหัวหิน หมู่ที่ 9 มีโรงเรียนประถมศึกษา 7 แห่ง ประกอบด้วย - โรงเรียนบ้านวังโบสถ์ หมู่ที่ 2 - โรงเรียนบ้านหนองตะเภา หมู่ที่ 4 (โรงเรียนขยายโอกาส ถึง ม.3) - โรงเรียนสมถวิล ห้วยมงคล หมู่ที่ 4 (โรงเรียนเอกชน) - โรงเรียน บ้านหนองคร้า หมู่ที่ 5 - โรงเรียนบ้านหนองซอ หมู่ที่ 6 - โรงเรียนบ้านหนองเหียง หมู่ที่ 7 - โรงเรียนอนุบาลหัวหิน หมู่ที่ 9 มีศูนย์ข้อมูลตำบล 4 แห่ง มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 5 แห่ง การศึกษาในระบบ ตารางแสดงจำนวนครูและนักเรียนในระบบแยกตามระดับการศึกษา
การศึกษานอกระบบ มี 1 แห่ง - มีครู 1 คน - มีนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 3 คน - มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 28 คน - มีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 43 คน
- วัดนิโครธาราม สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 1 - วัดวังโบสถ์ สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 2 - วัดหนองตะเภา สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 4 - วัดหนองคร้า สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 5 - วัดหนองซอ สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 6 - สำนักสงฆ์หนองเหียง สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 7 - สำนักสงฆ์เจดีย์ห้าร้อยยอด สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 7 - วัดใหญ่คลายคีรี (วัดเขาอิติสุคโต 2) สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 7 - วัดหนองขอน สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 9 - สำนักสงฆ์สามพันนาม สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 12 - วัดเพชราวุธ สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 15
( ประชากรในเขตตำบลหินเหล็กไฟ ส่วนมากเป็นพุทธศาสนิกชน 99.75% ) |
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ การคมนาคม มีถนนลาดยางตัดผ่านตำบล สายหัวหิน – หนองพลับ – ห้วยสัตว์ใหญ่(ป่าละอู) และมีถนนลาดยางสายบายพาส ชะอำ – ปราณบุรี ตัดผ่านตำบล สะดวกต่อการสัญจรไปมาได้ตลอดทั้งปี การโทรคมนาคม การบริการด้านโทรศัพท์สาธารณะ ยังมีไม่ครบทุกหมู่บ้าน สำหรับครัวเรือนที่มีโทรศัพท์บ้านใช้ จำนวน 600 ครัวเรือน และ ครัวเรือนที่มีโทรศัพท์มือถือใช้ จำนวน 3,000 ครัวเรือน การไฟฟ้า ไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง 16 หมู่บ้านแล้ว แต่ยังใช้ได้ไม่ทั่วถึงทุกครัวเรือน สาเหตุเนื่องจากปลูกบ้านอยู่ห่างไกลกันเกินไป และปลูกบ้านเป็นหย่อม ๆ ตามไร่ตามสวน ยากต่อการขยายแนวเขตไฟฟ้า จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 4,500 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90 % ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบล การสาธารณสุข - มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินเหล็กไฟ จำนวน 1 แห่ง - มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งหมด จำนวน 3 คน - ลูกจ้าง จำนวน 9 คน - มีผู้ป่วยมาใช้บริการโดยเฉลี่ยประมาณ 40 คน/วัน 1,200 คน/เดือน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ที่พักสายตรวจ จำนวน 1 แห่ง ตำรวจชุมชน จำนวน 1 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ,ลำห้วย 5 แห่ง บึง,หนอง 1 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ฝาย 32 แห่ง บ่อน้ำตื้น 3 แห่ง บ่อโยก 10 แห่ง ประปาหมู่บ้าน 12 แห่ง ถังเก็บน้ำ 13 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำดื่มสะอาด 2,402 ครัวเรือน ข้อมูลลานกีฬา/อุปกรณ์กีฬา ตารางสรุปข้อมูลลานกีฬา/อุปกรณ์กีฬา
|