นโยบายและแผน
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น
1.1 พัฒนาแนวทางเพิ่มคุณภาพการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ดียิ่งขึ้น และสนับสนุนให้ประชาชนได้ รับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง 1.2 ส่งเสริมด้านการกีฬาระดับจังหวัด และสนับสนุนกิจกรรมนันทนาการให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง 1.3 พัฒนาการดูแลคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 1.4 ส่งเสริมการจัดสวัสดิการคุ้มครองเด็กและเยาวชน และให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม 1.5 ส่งเสริมและฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านให้คงอยู่คู่ตำบล 1.6 แนวทางการป้องกันและรณรงค์ควบคุมโรค และเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังควบคุมโรค
2. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ 2.1 ส่งเสริมด้านการพัฒนาอาชีพตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและสนับสนุนการต่อยอดในด้านการทำอาชีพของประชาชน 2.2 พัฒนาด้านการให้ความรู้ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ในการบริหารจัดการ ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างระบบกระบวนการทำงานให้ทันสมัยยิ่งขึ้น 2.3 พัฒนาระบบเศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยว และปรับปรุงภูมิทัศน์ ของตำบลให้สวยงาม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น 2.4 ส่งเสริมการสร้างอาชีพ ในการจัดหาสถานที่และสนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพ พัฒนากลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน เพื่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน
3. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3.1 พัฒนาเส้นทางคมนาคมให้สะดวกทั่วถึงทั้งตำบล และปรับปรุงเส้นทางคมนาคมในแหล่งชุมชนให้ได้มาตรฐานมั่นคง 3.2 พัฒนาปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การขยายเขตให้บริการไฟฟ้าและน้ำประปา ให้ทั่วถึงทั้งตำบล 3.3 พัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค ให้สอดคล้องกับแผนป้องกันอุทกภัย 3.4 แนวทางการวางท่อน้ำดิบเพื่อการเกษตร การอุปโภคและบริโภค
4. การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร 4.1 พัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของบุคลากรภายในองค์กรให้อยู่ในระดับมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ 4.2 พัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กร โดยยึดตามแนวทางหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 4.3 พัฒนาและปรับปรุงสถานที่ และสนับสนุนด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ 4.4 ปรับปรุงและพัฒนาในด้านการจัดเก็บรายได้ “ด้วยความ เป็นธรรม”
5. ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.1 จัดหาสถานที่ทิ้งขยะให้เพียงพอกับความต้องการของตำบล และพัฒนาการบริหารจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน 5.2 สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการปลูกจิตสำนึกของเยาวชนและประชาชน ในด้านการดูแลรักษาความสะอาด 5.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 5.4 พัฒนาอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการปรับสภาพพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
6. ด้านการพัฒนาส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 6.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้แก่ ประชาชนในท้องถิ่น อาสาสมัครป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย 6.2 สนับสนุนในด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และส่งเสริมให้บุคคลกรมีความรู้ด้านสารสนเทศสมัยใหม่ เพื่อให้การพัฒนาระบบสารสนเทศสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการบริการประชาขน 6.3 ส่งเสริมให้อาสาสมัคร (อสม.) ประจำหมู่บ้าน ในการเพิ่มพูนความรู้และนำความรู้มาใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ
|